หัวข้อ การปรับ ครม. ของรัฐบาลสมชายในสายตาประชาชน
                  จากการให้สัมภาษณ์ของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังเสร็จสิ้น
งานพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ท่ามกลางกระแส
ข่าวเรื่องการยุบพรรค และเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่อเค้าว่าจะรุนแรงขึ้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง
“การปรับ ครม. ของรัฐบาลสมชายในสายตา
ประชาชน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกกลุ่มอาชีพที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น
1,116 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.3 และเพศหญิงร้อยละ 53.7   เมื่อวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2551 สรุปผลได้
ดังนี้
 
             1. ความคิดเห็นของประชาชนหากมีการปรับ ครม. ในช่วงระยะนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
มีความเห็นในเชิงเห็นด้วย สนับสนุน เห็นว่าเหมาะสม
โดยให้เหตุผลว่า
เพื่อเปิดโอกาสให้คนดี มีความรู้เหมาะสม
กับตำแหน่งมาทำงานช่วยแก้ปัญหาของ
ประเทศ ฯลฯ
34.6
มีความเห็นในเชิงไม่เห็นด้วย ไม่สนับสนุน และเห็นว่าไม่เหมาะสม
โดยให้เหตุผลว่า
ปรับ ครม. บ่อยเกินไป รัฐมนตรียังเข้ามา
ทำงานได้ไม่นาน และคาดว่าเปลี่ยนแล้ว
ก็คงมีแต่หน้าเดิมๆ ไม่มีอะไรดีขึ้น ฯลฯ
43.9
ไม่สนใจ เบื่อ อยากทำอะไรก็ทำกันไป ไม่รู้สึกอะไร
21.5
 
             2. รัฐมนตรีที่ประชาชนต้องการให้ถูกปรับออกจาก ครม. ชุดปัจจุบัน สูงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

 
ร้อยละ
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุข
69.2
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์       นายกรัฐมนตรี
48.0
พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์   รองนายกรัฐมนตรี
31.5
นายไชยา สะสมทรัพย์       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
26.5
พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ       รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
26.3
 
             3. สำหรับจุดประสงค์ของรัฐบาลในการปรับ ครม. ครั้งนี้ ประชาชนมีความเห็นว่า

 
ร้อยละ
เพื่อคลี่คลายวิกฤตของบ้านเมือง
26.3
เพื่อเตรียมรับมือกับคดียุบพรรคพลังประชาชนและการ
เลือกตั้งใหม่
26.3
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และแก้ปัญหาประเทศได้ดียิ่งขึ้น
21.7
เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในคณะรัฐบาล
17.2
อื่นๆ เช่น เพื่อจัดแบ่งโควต้าใหม่ เพื่อจัดสรรผลประโยชน์ให้ลงตัว ฯลฯ
8.5
 
             4. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
                 คือ

 
ร้อยละ
ยุติความขัดแย้ง ความรุนแรง และการชุมนุมของทุกฝ่าย
สร้างความสามัคคีของคนในชาติ
42.6
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ราคาสินค้า และค่าครองชีพ
36.7
พิจารณาตัวเอง ลาออก ยุบสภา และเลือกตั้งใหม่
9.1
ให้ทำงานโดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
4.6
แก้ปัญหาการจราจร พัฒนาระบบคมนาคม
2.3
แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
0.6
แก้ปัญหาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
0.6
อื่นๆ เช่น แก้ปัญหาการเลิกจ้าง แก้รัฐธรรมนูญ แก้ปัญหา
ความขัดแย้งในรัฐบาล และหาผู้กระทำผิดจากเหตุรุนแรง
วันที่ 7 ตุลาคม ฯลฯ
3.5
 
             5. แนวโน้มการให้ความสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินให้ยุบพรรค
                 พบว่า

 
ร้อยละ
จะให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทย
20.4
ไม่สนับสนุน
35.5
ยังไม่แน่ใจ
44.1
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                         1. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าหากมีการปรับ ครม. ในช่วงระยะนี้
                         2. รายชื่อรัฐมนตรีที่อยากให้ปรับออกจาก ครม. ชุดปัจจุบัน
                         3. ความเห็นต่อจุดประสงค์ของการปรับ ครม. ครั้งนี้

                         4. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
                         5. แนวโน้มการให้ความสนับสนุนพรรคเพื่อไทย หากพรรคพลังประชาชนถูกตัดสินให้ยุบพรรค

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้น สุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากร
เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,116 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.3 และเพศหญิง ร้อยละ
53.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 18 - 19 พฤศจิกายน 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 พฤศจิกายน 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
517
46.3
             หญิง
599
53.7
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
422
37.8
             26 - 35 ปี
376
33.7
             36 - 45 ปี
202
18.1
             46 ปีขึ้นไป
116
10.4
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
424
38.0
             ปริญญาตรี
602
53.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
90
8.1
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
78
7.0
             พนักงานบริษัทเอกชน
286
25.6
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
256
22.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
50
4.5
             รับจ้างทั่วไป
162
14.5
             นิสิต/นักศึกษา
252
22.6
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน
32
2.9
รวม
1,116
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776